วันจันทร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2562

ไตรยางค์อักษร 3 หมู่



ไตรยางค์ อักษร 3 หมู่





ไตรยางค์ คือ การแบ่งพยัญชนะไทยทั้ง ๔๔ ตัว ออกเป็น ๓ ส่วน ซึ่งเรียกว่า “ อักษรสามหมู่” โดยอักษรสามหมู่ประกอบด้วย อักษรสูง อักษรกลางและอักษรต่ำ



อักษรกลาง   

อักษรกลาง  มีทั้งหมด ๙ ตัว  ได้แก่
ก จ ด ฎ ต ฏ บ ป อ
อักษรกลางที่นิยมนำมาผันอักษร มี ๗ ตัว นะครับ  ได้แก่อักษร     ก จ ด ต บ ป และ  อ    ส่วนอักษร   ฎ และ  ฏ   นั้นไม่นิยมนำมาผันอักษร

อักษรสูง

อักษรสูง  มีทั้งหมด ๑๑ ตัว ได้แก่
ข   ฃ   ฉ   ฐ   ถ   ผ   ฝ   ศ   ษ   ส   ห
อักษรสูงที่นิยมนำมาผันอักษรมี  ๗  ตัว คือ ข  ฉ  ถ  ผ  ฝ  ส  ห
ส่วนอักษร  ฃ  ฐ  ษ  ศ   ไม่นิยมนำมาผันอักษร

อักษรต่ำ

อักษรต่ำ  มีทั้งหมด ๒๔ ตัว ได้แก่
ค ฅ ฆ ง
ช ซ ฌ ญ
ฑ ฒ ณ ท ธ น
พ ฟ ภ ม
ย ร ล  ว ฬ ฮ
อักษรต่ำที่นิยมนำมาผันอักษร คือ ค ง ช ท น พ ฟ ม ย ร ล ว
อักษรต่ำ  แยกออกเป็น  อักษรคู่  และ  อักษรเดี่ยว เพื่อประโยชน์ในการผันอักษรให้ครบ  ๕  เสียง  ดังนี้

  อักษรคู่  มีทั้งหมด ๑๔ ตัว ได้แก่

ค ฅ ฆ ช ซ ฌ ฑ ฒ ท ธ พ ฟ ภ ฮ
โดยอักษรคู่นี้ต้องผันเสียงทำหน้าที่ร่วมกับอักษรสูง  (พิจารณาตามหน่วยเสียง)  ดังนี้
/ค/   ค ฅ ฆ           ผันอักษรร่วมกับ  ข
/ช/   ช ฌ             ผันอักษรร่วมกับ  ฉ
/ซ/   ซ                ผันอักษรร่วมกับ  ส
/ท/   ฑ ฒ ท ธ       ผันอักษรร่วมกับ  ถ
/พ/   พ  ภ             ผันอักษรร่วมกับ  ผ
/ฟ/   ฟ                 ผันอักษรร่วมกับ  ฝ
/ฮ/   ฮ                  ผันอักษรร่วมกับ  ห

อักษรเดี่ยว  มีทั้งหมด ๑๐ ตัว ได้แก่

ง  ญ  ณ  น  ม   ย   ร   ล  ว  ฬ
โดยอักษรเดี่ยวนี้ต้องผันเสียงทำหน้าที่ร่วมกับอักษร  “อ  และ  ห”  อันทำหน้าที่เป็นอักษรนำเพื่อผันอักษรให้ครบ ๕ เสียง








อ้างอิง
https://www.youtube.com/watch?v=Z1VPqnDaWi4
อ้างอิง
https://sites.google.com/site/phasathaionline/seiyng02/tiryangkh
อ้างอิง
https://krupiyarerk.wordpress.com/2011/09/09/อักษรสามหมู่-อักษร-3-หมู่/
อ้างอิง
https://sites.google.com/site/phasathaionline/seiyng02/tiryangkh


สำนวนไทย





👦สำนวนไทย👧




ความหมายของสำนวน

     สำนวน  หมายถึง ถ้อยคำที่เรียบเรียงเป็นข้อความหรือคำพูดที่เป็นชั้นเชิงไม่ตรงตามรูปแบบภาษาเป็นถ้อยคำหรือคำพูดที่มีลักษณะเฉพาะตัวมีความหมายเป็นนัยแฝงอยู่กินความกว้างหรือลึกซึ้งนำมาใช้ให้มีความหมายแตกต่างไปจากความหมายเดิมของคำๆนั้นหรืออาจจะมีความหมายคล้ายกับความหมายเดิมของคำที่นำมาประสมกัน แต่ก็ไม่เหมือนกับความหมายเดิมทีเดียวเป็นความหมายในเชิงอุปมาเปรียบเทียบมักใช้ถ้อยคำที่ไม่ยาวมากแต่กินความมากใช้คำที่ไพเราะ คมคาย สละสลวย ต้องอาศัยการตีความจึงจะเข้าใจ 



ที่มาของสำนวน



     สำนวนไทยมีจำนวนมากมายและมีที่มาที่หลากหลายประการดังนี้
1. มีที่มาจากธรรมชาติ  เป็นสำนวนที่เทียบเคียงมาจากสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ
2. ที่มาจากวัฒนธรรมการดำรงชีวิต  เช่น  ปัจจัยสี่  อาหาร  เครื่องนุ่งห่ม  ที่อยู่อาศัย  พาหนะ   
3. ที่มาจากวัฒนธรรมทางสังคม  เช่น  การทำมาหากิน  การกระทำ  ประเพณี  การละเล่น  การศึกษา         การเมืองการปกครอง 
4. ที่มาจากวัฒนธรรมทางจิตใจ  เช่นทางศาสนาและความเชื่อ
5.ที่มาจากวัฒนธรรมทางศิลปะ  เช่น  การแสดง  ดนตรี 
6.ที่มาจากวัฒนธรรมทางภาษา  วรรณคดี  ตำนาน  นิทาน  ประวัติศาสตร์ 

ลักษณะของสำนวนไทย

1.  ถ้อยคำที่ใช้เป็นสำนวนอาจเป็นเพียงคำเดียว  หรือประกอบด้วยถ้อยคำที่เรียงกันตั้งแต่  2  คำขึ้นไปซึ่งบาง สำนวนเป็นกลุ่มคำ   บางสำนวนเป็นประโยค  ซึ่งมีทั้งความเดียวและประโยคความซ้อน



2. สำนวนไทยบางสำนวนมีทั้งมีเสียงสัมผัสและไม่มีเสียงสัมผัส   ที่มีเสียงสัมผัส  มีเสียงสัมผัสในและสัมผัสนอก  จะมีตั้งแต่ 4 ถึง 12  คำ  ส่วนที่ไม่มีเสียงสัมผัส  จะมีตั้งแต่ 2  ถึง 8  คำ  บางสำนวนมีการใช้คำซ้ำและเล่นคำ



3. เนื้อความของสำนวนมีทั้งที่มีเนื้อความตอนเดียว  และมีเนื้อความสองตอนขึ้นไป

4. เนื้อหาของสำนวนจะมีหลากหลาย  ดังนี้ 

           4.1 เนื้อหาเกี่ยวกับรูปร่าง หน้าตา ผิวพรรณ และกิริยาท่าทาง
           4.2 เนื้อหาเกี่ยวกับลักษณะนิสัย  กิริยาอาการและพฤติกรรม
           4.3 เนื้อหาเกี่ยวกับจิตใจ อารมณ์ ความรู้สึก
           4.4 เนื้อหาเกี่ยวกับการพูด
           4.5 เนื้อหาเกี่ยวกับความรัก  การมีคู่  และการครองเรือน
           4.6 เนื้อหาเกี่ยวกับการศึกษาหาความรู้ และการอบรมสั่งสอน
           4.7 เนื้อหาเกี่ยวกับความเป็นอยู่ อาชีพ การทำงาน การทำมาหากิน และการดำรงชีวิต
           4.8 เนื้อหาเกี่ยวกับการอยู่ร่วมกันในสังคม การเมือง การปกครอง
           4.9 เนื้อหาเกี่ยวกับคุณธรรม การเตือนสติและคำสอนต่าง ๆ
           4.10 เนื้อหาเกี่ยวกับเหตุการณ์  สถานการณ์ เวลา  ระยะทางและสถานที่

5. เป็นถ้อยคำสละสลวยที่ใช้แทนคำพูดธรรมดา  เป็นคำแปลก ๆ โดยอาจเทียบเคียงมาจากการกระทำบางอย่าง  เป็นคำกล่าวที่มีความหมายโดยนัย  เป็นคำที่มาจากปรากฏการธรรมชาติ นิทาน ชาดก หรือวรรณคดี  ใช้ถ้อยคำน้อย แต่มีเนื้อความมาก  และเป็นคำที่มีความไพเราะ ฯลฯ 


สำนวนที่เกิดขึ้นใหม่

1. สำนวนที่เกิดจากวงการสื่อมวลชน เช่น  ไปไม่ถึงดวงดาว (ไม่สำเร็จ ไม่บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่คิดไว้) มองต่างมุม (แสดงความคิดเห็นที่แตกต่างออกไป)  เป็นต้น 

2. สำนวนที่เกิดจากวงการเมือง  เช่น  โปร่งใส (ชัดเจน ไม่มีลับลมคนใน)  น็อตหลุด    (ยั้งไม่อยู่  พูดโพล่งออกมาหรือแสดงอารมณ์อย่างไม่สมควร)   เป็นต้น 

3. สำนวนที่เกิดจากวงการโฆษณา  เช่น  ภาษาดอกไม้ (คำพูดที่ไพเราะ รื่นหู  พูดไป  ทางที่ดี)   มีระดับ (คุณภาพดี  มีมาตรฐานสูง)   เป็นต้น 

4. สำนวนที่เกิดจากวงการบันเทิง เช่น แจ้งเกิด (เริ่มมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักหรือเป็นที่ยอมรับในวงการนั้น ๆ)   คู่กัด (คู่ที่ไม่ถูกกัน)  เป็นต้น

5. สำนวนที่แปลมาจากภาษาต่างประเทศ   เช่น เเกะดำ (back sheep ใช้หมายถึง คนชั่วในกลุ่มคนดี)   แขวนอยู่บนเส้นด้าย (hang by a thread  ใช้หมายถึง  ตกอยู่ในสถานการณ์ที่หมิ่นเหม่ต่ออันตราย)  ลื่นเหมือนปลาไหล (slippery as eel ใช้หมายถึง  (คน)ที่เชื่อถือได้ยากเพราะเป็นคนตลบตะแลง  พลิกแพลงกลับกลอก  หรือหลบเลี่ยงไปมาได้คล่องแคล่ว)  ล้างมือ (wash one’ s hand of  ใช้หมายถึง  ปฏิเสธที่จะเกี่ยวข้องหรือรับผิดชอบ  หรือเลิกเกี่ยวข้อง)  สร้างวิมานในอากาศ (build castles in the air  ใช้หมายถึง  ฝันหรือหวังในสิ่งที่ไม่วสามารถจะเป็นความจริงได้)  เป็นต้น

6. สำนวนเกิดใหม่ที่ปรากฏในหนังสือพิมพ์รายวัน 
        -สำนวนสร้างใหม่  เช่น  ขบเหลี่ยม (ไม่ลงรอยกัน  ขัดกัน  หักร้างกัน) ไทยเหลือง (พระที่ประพฤติตน ไม่เหมาะสม)
        -สำนวนดัดแปลง  เช่น  กิ้งก่าฟาดหาง (อาการเตะเพื่อทำร้ายฝ่ายตรงข้าม  ดัดแปลงจากชื่อท่ามวยไทย  จระเข้ฟาดหาง )  นักกินเมือง (นักการเมืองที่มุ่งแต่จะหาประโยชน์เข้าตัวเอง  ดัดแปลงจากคำว่า  นักการเมือง)  ยุค IMF  (ยุคที่เศรษฐกิจตกต่ำต้องประหยัด  IMF  มาจากคำว่า International Monetary Found  ซึ่งเป็นชื่อกองทุนการเงินระหว่างประเทศ)
         -สำนวนที่เปลี่ยนบริบทการใช้  เช่น  ชิงสุกก่อนห่าม (ตกรอบไปก่อนเวลาอันสมควร
ปรกติใช้กับการที่หนุ่มสาวลักลอยได้เสียกันก่อนแต่งงาน  แต่นำมาใช้ในบริบทใหม่ทางการกีฬา)
อุ้ม (ลักพาตัวไป เพื่อนำไปฆ่า  เปลี่ยนความหมายจากเดิมที่หมายถึง โอบ ยกขึ้น ยกขึ้นไว้กับตัว  หรือให้ความอุปถัมภ์ช่วยเหลือ)

        -สำนวนที่มาจากภาษาต่างประเทศ  เช่น  ฮั้ว (สมยอมกันในการประมูลงานโดย บริษัทหนึ่งจะ นัดบริษัทอื่น ๆ   ที่สนใจในการประมูลงานใดงานหนึ่งมาตกลงกัน  บริษัทนั้นจะจ่ายเงินจำนวนหนึ่งให้บริษัทอื่น ๆ เพื่อให้บริษัทเหล่านั้นหลีกทางให้บริษัทตนเป็นผู้ประมูลได้  มาจากคำว่า  ฮั้ว ในภาษาจีน)  ไฮโซ  ไฮซ้อ  ไฮซิ้ม  (ชนชั้นสูงหรือผู้มีเงิน  มีฐานะในวงสังคม  มีที่มาจากคุณหญิง คุณนายที่เป็นภรรยาหรือบุตรนักธุรกิจ  ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนไทยเสื้อสายจีน  และบางคนอาจมีลักษณะของความเป็นจีนอยู่  จึงมีการพูดล้อเลียน  ไฮซ้อ  ไฮซิ้ม   มาจากคำว่า  ไฮโซ รวมกับคำว่า  ซ้อ  และ ซิ้ม  ซึ่งเป็นภาษาจีน)  เตะซีมะโด่ง (ให้พ้นจากตำแหน่ง  ปรกติจะใช้ว่า  เตะโด่ง   ซีมะโด่ง  เป็นคำมาจากภาษาเขมรว่า  ซีมวยดอง  แปลว่า  กินหนึ่งครั้ง  เสียงพยางค์สุดท้ายใกล้เคียงกับคำว่า โด่ง  ในภาษาไทย  จึงนำมาใช้แทนคำว่า โด่ง) 

วิธีการใช้สำนวน


1. ใช้ในการจูงใจ  เช่น  ทำดีได้ดี  ทำชั่วได้ชั่ว  รักดีหามจั่ว  รักชั่วหามเสา  ธรรมะย่อมชนะอธรรม             คบคนพาลพาลพาไปหาผิด  คบบัณฑิต บัณฑิตพาไปหาผล  แพ้เป็นพระ ชนะเป็นมาร  เป็นต้น

2. ใช้ย่อข้อความยาว ๆ  เช่น  ขิงก็รา  ข่าก็แรง   ตัดหางปล่อยวัด   จับปลาสองมือ   กินเปล่า  ชุบมือเปิบ   ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ  เป็นต้น

3. ใช้ขยายความหรือเน้นความเข้าใจ  เช่น  ปิดทองหลังพระ หนีเสือปะจระเข้  ทำคุณบูชาโทษ                กินน้ำใต้ศอก  เรือล่มในหนองทองจะไปไหน หนูตกถังข้าวสาร เป็นต้น

4. ใช้แทนถ้อยคำที่ไม่ต้องการกล่าวตรงๆ  เช่น  เฒ่าหัวงู   สิ้นบุญ  เจ้าโลก  บ้านเล็ก  ไก่แก่แม่ปลาช่อน     โคแก่กินหญ้าอ่อน  วัวเคยขาม้าเคยขี่  เป็นต้น

5. ใช้เพิ่มสีสันและความสละสลวยของถ้อยคำในการสื่อสาร  เช่น   ข้าวแดงแกงร้อน  อยู่เย็นเป็นสุข           รั้วรอบขอบชิด  คลุกคลีตีโมง  ขุดบ่อ ล่อ ปลา  เป็นต้น
ตัวอย่างสำนวนไทย 

       ชี้โพรงให้กระรอก


หมายถึง ผู้ที่ชอบทำอะไรก็ตามเป็นนิสัยเดิมอยู่แล้ว เมื่อมีคนมาบอกกล่าวก็จะลงมือทำทันที เช่น เป็นคนชอบเที่ยวถ้ามีผู้บอกว่าที่นั่นที่นี่น่าเที่ยวก็จะไป หรือผู้มีนิสัยเป็นคนขี้ลักขี้ขโมยถ้ามีผู้บอกว่า บ้านนั้นบ้านนี้มีทรัพย์สินเงินทองมาก ก็จะหาทางเข้าไปขโมยหรือลักทรัพย์ในบ้านนั้น เช่นนี้ เรียกว่า  ชี้โพรงให้



จับปูใส่กระด้ง


หมายถึง  ยากที่จะทำให้อยู่นิ่ง ๆ



ทำนาบนหลังคน 


หมายถึง    หมายถึงคนทีคิดหาผลกําไรหรือหาผลประโยชน์ใส่ตน ด้วยวิธี เบียดเบียนหรือรีดนาทาเร้นเอาจากนํ้าพักนํ้าแรงของผู้อืน โดยขาดความเมตตา


 น้ำขึ้นให้รีบตัก


หมายถึง   เมื่อมีโอกาสดีที่ผ่านเข้ามา ให้รีบฉวยโอกาสอันนี้และเก็บเกี่ยวผลประโยชน์อย่างเต็มที่ ก่อนที่ช่วงเวลาดีๆนี้จะผ่านไป

รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา


 หมายถึง  ใฝ่ดีจะมีความสุขความเจริญใฝ่ชั่วจะได้รับความลําบาก


วัวหายล้อมคอก


หมายถึง  ของหายแล้วจึงจะเริ่มป้องกัน เรื่องเกิดขึ้นแล้วจึงคิดแก้ไข




































อ้างอิง
https://www.youtube.com/watch?v=FZgTVlj6B6w
อ้างอิง
http://www.ipesp.ac.th/learning/thai/chapter5-2.html
อ้างอิง
https://sites.google.com/site/nynatchayajumpa/khwam-hmay-khxng-sanwn-thiy
อ้างอิง
https://krunonschool.wordpress.com/2014/04/09/อย่าหวังน้ำบ่อหน้า/
อ้างอิง
https://sites.google.com/a/tupr.ac.th/aombenz/khwam-hmay-sanwn-thiy
อ้างอิง
https://cigaza.wordpress.com/2014/05/07/ข้อคำนึงในการใช้สำนวน/
อ้างอิง
https://sites.google.com/site/nwssanwnsuphasit/3
อ้างอิง
https://sites.google.com/a/cnt.go.th/sumnuanthai-by-krunil/tawxyang-sanwn-suphasit-kha-phangphey